น.ส.กันยารัตน์ พุทธคุณเมตตา รหัส 527190514 ศูนย์ราชโบริกาฯ หมู่ 1

So cool.....

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการฝนหลวง




โครงการฝนหลวง

จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในจังหวัด ต่างๆ เป็นประจำได้ทรงพบเห็นท้องถิ่น หลายๆแห่งประสบปัญหาความแห้งแล้ง หรือ ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และ การทำเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ฤดูเพาะปลูกเกษตรกรจะประสบความเดือดร้อนทุกข์ยากมากเนื่องจากบางครั้งฝนได้ทิ้งช่วงนาน หรือ ภาวะฝนทิ้งช่วงเกิดในระยะ วิกฤติของพืชผล คือ พืชอยู่ในระยะที่กำลังให้ผลผลิตต่ำหรืออาจจะไม่มีผลผลิตให้เลยเป็นต้นดังนั้นภาวะฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงในแต่ละครั้ง/แต่ละปีจึงสร้างความเดือดร้อน และความสูญเสียทางเศรษฐกิจ แก่เกษตรกรเป็นอย่างสูง
นอกจากนี้ภาวะความต้องการใช้น้ำนับวันจะทวีปริมาณความต้องการเพิ่มสูงขึ้นตามอัตราการเพิ่มของประชากรการขยายพื้นที่เกษตรกรรม และ การเจริญเติบโตของกลุ่มอุตสาหกรรม



ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลและทรงความอัจฉริยะในพระองค์ท่านดังนั้นในปีพุทธศักราช 2498 จึงได้มีพระราชดำริค้นหาวิธีการที่จะทำให้เกิดฝนตกนอกเหนือจาก ที่จะได้รับ จากธรรมชาติโดยนำเทคโนโลยีนำสมัยและทรัพยากรที่มีอยู่ประยุกต์ กับ ศักยภาพของการเกิดฝนในเขตร้อน เช่น ประเทศไทยมุ่งขจัดปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าวและทรงมีพระราชหฤทัยเชื่อมั่นว่าวิธีการ ดังกล่าวนี้จะทำให้การพัฒนาระบบการจัดทรัพยากรน้ำของชาติเกิดความพร้อม และ ครบบริบูรณ์ตามวัฏจักรของน้ำ คือ



1.การพัฒนา ระบบ การ จัดการ ทรัพยากร แหล่งน้ำ ใต้ดิน
2.การพัฒนา ระบบ การ จัดการ ทรัพยากร แหล่งน้ำ ผิวดิน
3.การพัฒนา การ จัดการ ทรัพยากร แหล่งน้ำ ใน บรรยากาศ



และทรงเชื่อมั่นในพระราชหฤทัยว่าด้วยลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศของประเทศจะสามารถดำเนินการให้บังเกิดผลสำเร็จได้อย่างแน่นอน
ดังนั้นในปี พุทธศักราช 2499 จึงได้ทรงพระมหากรุณาพระราชทานโครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง" ให้หม่อมราชวงศ์ เทพฤทธิ์ เทวกุล รับไปดำเนินการศึกษาวิจัย และ การพัฒนากรรมวิธีการทำฝนให้บังเกิดผลโดยเร็ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงกำหนดขั้นตอนของกรรมวิธีการทำฝนหลวงขึ้นเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆตามลำดับดังนี้



ขั้นตอน ที่ หนึ่ง : "ก่อกวน"เป็นขั้นตอนที่ เมฆ ธรรมชาติ เริ่ม ก่อตัวทางแนวตั้ง การ ปฏิบัติการ ฝนหลวง ใน ขั้นตอน นี้ จะมุ่ง ใช้ สารเคมี ไป กระตุ้นให้มวลอากาศเกิดการ ลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการ ชักนำ ไอน้ำ หรือ ความชื้น เข้า สู่ ระบบ การ เกิด เมฆ ระยะ เวลาที่จะปฏิบัติการ ใน ขั้นตอนนี้ ไม่ควร เกิน 10.00 น. ของ แต่ละ วัน โดย การใช้ สารเคมี ที่ สามารถ ดูดซับ ไอน้ำ จาก มวล อากาศ ได้แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ ความชื้นสัมพัทธ์ ต่ำ (มี ค่า Critical relative humidity ต่ำ) เพื่อ กระตุ้น กลไก ของ กระบวนการ กลั่นตัว ไอน้ำ ใน มวล อากาศ (เป็นการสร้าง Surrounding ให้ เหมาะสม ต่อ การเจริญ เติบโต ของ เมฆ ด้วย) ทางด้าน เหนือ ลม ของ พื้นที่ เป้าหมาย เมื่อเมฆเริ่ม เกิดมีการก่อตัว และ เจริญ เติบโต ทางตั้ง แล้ว จึง ใช้ สารเคมี ที่ ให้ ปฏิกิริยา คาย ความร้อน โปรย เป็น วงกลม หรือ เป็น แนว ถัดมาทางใต้
ลม เป็น ระยะ ทาง สั้นๆ เข้า สู่ ก้อนเมฆ เพื่อ กระตุ้น ให้ เกิด กลุ่ม แกนร่วม (main cloud core) ใน บริเวณ ปฏิบัติการสำหรับใช้เป็น ศูนย์กลางที่จะสร้างกลุ่มเมฆฝนในขั้นตอน ต่อไป



ขั้นตอน ที่ สอง : "เลี้ยง ให้ อ้วน"เป็น ขั้นตอน ที่ เมฆ กำลังก่อตัวเจริญ เติบโตซึ่งเป็นระยะสำคัญมากในการปฏิบัติการ ฝนหลวง เพราะ จะต้อง ไปเพิ่มพลังงาน ให้แก่ updraft ให้ยาวนานออกไปต้องใช้เทคโนโลยี และ ประสบการณ์ หรือ ศิลปะแห่งการทำฝนควบคู่ไปพร้อมๆ กันเพื่อตัดสินใจ โปรยสารเคมี ฝนหลวง ชนิดใด ณ ที่ใดของกลุ่มก้อนเมฆ และในอัตราใดจึงเหมาะสมเพราะต้องให้กระบวนการเกิด ละออง เมฆ สมดุล กับ ความแรง ของ updraft มิฉะนั้น จะ ทำให้เมฆสลาย






ขั้นตอน ที่ สาม : "โจมตี"เป็นขั้นตอนสุดท้าย ของ กรรมวิธีปฏิบัติการ ฝนหลวงเมฆหรือ กลุ่มเมฆฝนมีความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็นฝนได้ ภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมายหากเครื่องบินบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีกและกระจังหน้าของเครื่องบิน เป็นขั้นตอนที่สำคัญและอาศัยประสบการณ์มากเพราะจะต้องปฏิบัติการเพื่อ ลดความรุนแรงของ updraft หรือ ทำให้ อายุ ของ updraft หมดไป สำหรับการปฏิบัติการในขั้นตอนนี้จะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมาย ของ การทำฝนหลวง ซึ่งมี อยู่ 2 ประเด็น คือ เพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก (Rain enhancement) และเพื่อให้ เกิดการกระจาย การตกของ ฝน (Rain redistribution) เครื่องมือ และ อุปกรณ์สำคัญที่ใช้ประกอบในการทำฝนหลวง

1.เครื่องมือ อุตุนิยม วิทยา ใช้ใน การตรวจวัด และ ศึกษาสภาพอากาศ ประกอบการวางแผนปฏิบัติการนอกเหนือจากแผนที่ อากาศ ภาพถ่าย ดาวเทียมที่ได้รับสนับสนุนเป็นประจำวัน จาก กรมอุตุนิยมวิทยาที่มีใช้ ได้แก่

1.1เครื่องวัดลมชั้นบน (Pilot Balloon) ใช้ ตรวจวัดทิศทางและ ความเร็ว ลม ระดับสูงจากผิวดินขึ้นไป

1.2เครื่องวิทยุหยั่งอากาศ (Radiosonde) เป็น เครื่องมือ อิเล็คทรอนิคส์ ประกอบด้วย เครื่องส่งวิทยุ ซึ่งจะติดไปกับบอลลูน และเครื่องรับสัญญาณวิทยุซึ่งจะบอกให้ทราบถึงข้อมูลอุณหภูมิความชื้นของบรรยากาศในระดับ ต่างๆ




1.3เครื่องเรดาร์ ตรวจอากาศ (Weather Radar) ที่มีใช้อยู่เป็นแบบติดรถยนต์เคลื่อนที่ ได้ มี ประสิทธิภาพสามารถบอกบริเวณที่มีฝนตกและความแรงหรือ ปริมาณน้ำฝน และ การเคลื่อนที่ ของ กลุ่มฝน ได้ ใน รัศมี 200-400 กม. ซึ่ง นอกจาก จะใช้ ประกอบ การวางแผน ปฏิบัติการ แล้วยัง ใช้เป็นหลักฐานในการประเมินผลปฏิบัติการฝนหลวงอีกด้วย

1.4เครื่องมือตรวจอากาศผิวพื้นต่างๆ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิเครื่องวัดความเร็ว และ ทิศทางลมเครื่องวัดปริมาณน้ำฝน เป็นต้น



2.เครื่องมือเตรียมสารเคมี ได้แก่ เครื่อง บด สารเคมี เครื่องผสมสารเคมีทั้งแบบน้ำและแบบผงถัง และ กรวยโปรยสารเคมี เป็นต้น



3.เครื่องมือ สื่อสาร ใช้ ใน การติดต่อ สื่อสาร และสั่งการ ระหว่างนักวิชาการบนเครื่องบินกับฐานปฏิบัติการ หรือระหว่างฐานปฏิบัติการ 2 แห่ง หรือ ใช้ รายงาน ผล ระหว่าง ฐานปฏิบัติงานสำนักงานฯ ใน ส่วนกลาง โดยอาศัยข่ายร่วมของวิทยุ ตำรวจศูนย์ สื่อสาร สำนักงาน ปลัด กระทรวง มหาดไทย วิทยุ เกษตร และ กรมไปรษณีย์ โทรเลข เครื่องมือสื่อสารที่ใช้ใน ปัจจุบัน ได้แก่ วิทยุซิงเกิล ไซด์แบนด์ วิทยุ FM.1, FM.5 เครื่องโทรพิมพ์ เป็นต้น




4.เครื่องมือ ทาง วิชาการ อื่นๆ เช่น อุปกรณ์ ทางการวางแผน ปฏิบัติการเข็มทิศแผนที่ กล้องส่องทางไกลเครื่องมือตรวจสอบ สารเคมี กล้องถ่ายภาพ และ อื่นๆ



5.สถานี เรดาร์ ฝนหลวง ใน บรรดาเครื่องมือ อุปกรณ์ วิทยาศาสตร์ ภายใต้ โครงการวิจัย ทรัพยากร บรรยากาศ ประยุกต์จำนวน 8 รายการ นั้น Doppler radar จัด เป็น เครื่องมือ อุปกรณ์ วิทยาศาสตร์ที่มีมูลค่าสูงสุด Doppler radar นี้ใช้เพื่อ วางแผนการทดลอง และ ติดตามประเมิน ผลปฏิบัติการ ฝนหลวงสาธิตเครื่องมือชนิดนี้ ทำงานโดยใช้ ระบบคอมพิวเตอร์ (Microvax 3400) ควบคุมการสั่งการการเก็บบันทึกรวบรวมข้อมูลสามารถนำข้อมูลกลับมาแสดงใหม่จากเทปบันทึก ใน รูปแบบ การทำงาน ของ IRIS (IRIS Software) ผ่าน Processor (RUP-6) กล่าวคือข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ในเทปบันทึก ข้อมูล ด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำม ใช้ได้ตลอดซึ่งเชื่อมต่อ กับ ระบบเรดาร์ การแสดงผล/ข้อมูล โดย จอภาพ (TV.monitor) ขนาด 20 นิ้ว สถานที่ ตั้ง Doppler radar หรือ ที่ เรียกว่า สถานี เรดาร์ ฝนหลวง นี้ อยู่ที่ ตำบล ยางเปียง อำเภอ อมก๋อย จังหวัด เชียงใหม่ด้วย ความสำคัญ และ ปริมาณ ความต้องการ ให้ ปฏิบัติการ ฝนหลวง ช่วยเหลือ ทวี จำนวน มากขึ้น ฉะนั้น เพื่อ ให้งานปฏิบัติการ ฝนหลวง สามารถ ปฏิบัติการ ช่วยเหลือ เกษตรกรได้กว้างขวาง และ ได้ ผลดี ยิ่งขึ้นรัฐบาลจึงได้ ตรา พระราชกฤษฎีกาก่อตั้ง สำนักงาน ปฏิบัติ การ ฝนหลวง ขึ้น ใน สังกัดสำนักงาน ปลัด กระทรวงเกษตร และ สหกรณ์เมื่อ วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2518 เพื่อเป็นหน่วยงานรองรับ โครงการ พระราชดำริ ฝนหลวง ต่อไป จากกรรมวิธีการทำฝนหลวงที่ใช้เป็นหลักอยู่ ใน ปัจจุบัน คือ การ โปรยสารเคมี ฝนหลวง จากเครื่องบินเพื่อเร่งหรือเสริมการก่อตัว และ การเจริญเติบโตของเมฆและการโจมตีกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการที่เคยปฏิบัติกันมาตั้งแต่ เริ่มแรก จนถึงปัจจุบันนี้นั้นในบางครั้ง ก็ ประสบ ปัญหา ที่ ไม่สามารถ ปฏิบัติการ ตามขั้นตอน กรรมวิธี ให้ครบถ้วน สมบูรณ์ เช่น ใน ขั้นโจมตีให้ฝนตก ลงสู่พื้น ที่ เป้าหมาย ไม่สามารถ กระทำได้ เนื่อง จากฝนตกปกคลุมสนามบินเกิดลม พายุ ปั่นป่วน และ รุนแรง เครื่องบินไม่สามารถ บิน ขึ้น ปฏิบัติการ ได้ ทำให้ กลุ่มเมฆ เคลื่อนพ้นพื้นที่ เป้าหมาย จากปัญหา ต่างๆ เหล่านี้จึงได้มีการวิจัย และทดลองกรรมวิธี การทำฝนเพื่อการพัฒนา และ ก้าวหน้าบรรลุเป้าหมายยิ่งขึ้นอีกระดับหนึ่งอาทิ เช่น การทำ วิจัย สร้างจรวดบรรจุสารเคมียิงจากพื้นดิน เข้าสู่ก้อนเมฆ หรือ ยิงจากเครื่องบินจึงได้มีการเริ่ม วิจัย ประดิษฐ์จรวด ทำฝนร่วมกับ กรมสรรพาวุธทหารบก






เมื่อ พ.ศ. 2515-2516 จน ก้าวหน้า ถึง ระดับทดลอง ยิงในเบื้องต้น แล้ว แต่ ต้อง หยุดชะงัก ด้วย ความจำเป็น บางประการ ของ กรมสรรพาวุธ ทหารบก จนถึง พ.ศ.2524 คณะกรรมการ สภาวิจัยแห่งชาติ ได้ แต่งตั้ง คณะ ทำงานพัฒนาและวิจัยจรวด ฝนเทียม ขึ้น ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ ด้านจรวดของกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ นักวิชาการ ของ สภาวิจัย แห่งชาติ และ นักวิชาการ ฝน หลวงซึ่งได้ทำการวิจัย ประดิษฐ์ และ พัฒนาจรวดต้นแบบขึ้นทำการทดลองยิงทดสอบก้าวหน้า มาตามลำดับ และถึงขั้นบรรจุสารเคมีเพื่อทดลองยิงเข้าสู่ก้อนเมฆจริงแล้ว ใน ปี พ.ศ. 2530 ขณะนี้ กำลังอยู่ในขั้นทำ การผลิตจรวดเชิงอุตสาหกรรม เพื่อ ทำ การยิง ทดลอง และตรวจสอบ ผล ใน เชิง ปฏิบัติการ ต่อไปในการนี้พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณา พระราชทาน แนวความคิดในการวิจัย ชิ้นนี้ อาจ กล่าว ได้ว่าการวางแผน และ กำหนดกรรมวิธีในการทำฝนหลวงในขั้นตอนต่างๆ นั้น ได้ มาจากพระราชอัจฉริยภาพของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการประมวล และ วิเคราะห์ข้อมูลรวมทั้งการนำความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงานให้แต่ละขั้นตอนมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น วิทยุ สื่อสาร, ดาวเทียม หรือ แม้แต่คอมพิวเตอร์ก็ตามกล่าวคือพระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น