น.ส.กันยารัตน์ พุทธคุณเมตตา รหัส 527190514 ศูนย์ราชโบริกาฯ หมู่ 1

So cool.....

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อความมั่นคงตามแนวชายแดน

โครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อความมั่นคงตามแนวชายแดนตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ความเป็นมา
1. สภาพทั่วไป

พื้นที่ภาคเหนือตอนบน มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่า สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนต่อเนื่องกันไปตลอดแนวชายแดนมีราษฎรอาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไป แนวชายแดนฝั่งตรงข้ามมีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยูู่่ เช่น ว้า , ไทยใหญ่ , คะฉิ่น , และกระเหรี่ยง ตลอดห้วงระยะที่ผ่านมาได้มีการเคลื่อนไหวของกองกำลังติดอาวุธกลุ่มต่างๆ บริเวณแนวชายแดน ทำให้ราษฎรชาวไทยที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนได้รับผลกระทบจากกรสู้รบอยู่เสมอนอกจากนั้นในปัจจุบัน ได้เกิดการแพร่ระบาดของยาเสพติดอย่างรุนแรง โดยมีสาเหตุหลักมาจากการผลิตจากภายนอกประเทศ แล้วลักลอบลำเลียงขนส่งเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ตามช่องทางต่างๆ ตามแนวชายแดน กระทำในลักษณะเป็นขบวนการ สำหรับ ราษฎรที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนนั้นส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขา มีการอพยพถิ่นฐานอยู่ตลอดเวลา ยึดอาชีพทำไร่เลื่อนลอยเป็นหลัก ทำให้ไม่มีอาชีพและรายได้ที่แน่นอน มีความยากจนเป็นส่วนใหญ่ประกอบกับเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงระหว่างหมู่บ้านมีความยากลำบาก เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่สามารถเดินทางเข้าไปให้ความช่วยเหลือและพัฒนาได้สะดวก ซึ่งสภาพการณ์ดังกล่าว ผลกระทบต่อความมั่นคงและการพัฒนาประเทศหลายประการ พอสรุปได้ดังนี้

  • ปัญหาความปลอดภัยตามแนวชายแดน
  • ปัญหายาเสพติด
  • ปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้
  • ปัญหาความยากจนและด้อยโอกาส
ในห้วงเดือนมกราคมถึงมีนาคมของทุกปีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จฯ แปรพระราชฐานประทับแรม ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างที่ประทับอยู่นี้ได้้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในท้องิ่นต่างๆ ให้แก่ราษฎร ซึ่งกองทัพภาคที่ 3 ได้ร่วมกับส่วนราชการในพื้นที่ดำเนินการสนองตอบให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ ในรูปแบบโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่ง


2. ความเป็นมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นปัญหาประการต่างๆ ภายในพื้นที่ภาคเหนือซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกองกำลังภาคที่ 3 มีความหลากหมายและซับซ้อน ไม่สามารถจะแก้ปัญหาต่างๆ ให้ลุล่วงไปได้โดยลำพังหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความปลอดภัยตามแนวชายแดน ปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหายาเสพติด จึงได้พระราชทานแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวแก่ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้บัญชาการทหารบกเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2543 มีใจความสรุปได้คือ

2.1 การสร้างความมั่นคงตามแนวชายแดนต้องกระทำในลักษณะผสมผสาน มีการเคลื่อนไหวควบคู่ไปกับการปฏิบัติการจิตวิทยา เพื่อสร้างความใกล้ชิด
2.2 จะต้องได้ข้อมูลพื้นที่ปฏิบัติการทั้งหมดรวมทั้งปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของราษฎร
2.3 การปฏิบัติงานจะต้องร่วมกันทุกฝ่าย
2.4 พื้นที่เพ่งเล็งในการปฏิบัติงานได้แก่ พื้นที่ช่องทางกิ่วผาวอก จังหวัดเชียงใหม่ ต่อเนื่องไปจนถึงอำเภอปางมะผ้าจังหงัดแม่ฮ่องสอน

ทั้งนี้ลักษณะการดำเนินงานมิใช่โครงการใหญ่แต่เป็นงานเล็กๆ เช่น ฝานกั้นน้ำ และใช้ระบบการส่งน้ำด้วยท่อโดยกลุ่มหรือสมาคมแม่บ้านควรมีบทบาทเข้าไปช่วยเหลือ ตัวอย่างโครงการที่ประสบความสำเร็จในห้วงที่ผ่านมาคือโครงการห้วงตึงเฒ่า และหากการดำเนินต่อราษฎรในพื้นที่สูงสามารถประสานกับหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ได้โดยตรง

3. วัตถุประสงค์

หลังรับพระราชทานแนวทางข้างต้นจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ผู้บัญชาการทหารบกได้มอบหมายให้กองทัพภาคที่ 3 เป็นหน่วยดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ซึ่งกองทัพภาคที่ 3 ได้สรุปแนวทางพระราชทานดังกล่าว กำหนดเป็นวัตถุประสงค์ในการดำเนินการ 4 ประการ ได้แก่
3.1 เพื่อให้ความปลอดภัยแก่ราษฎรตามแนวชายแดน ปราศจากการคุกคามของผู้มีอิทธิพลในท้องที่และกองกำลังต่างชาติ
3.2 เพื่อให้เป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพติด ไม่ว่าจะเป็นการเสพ การค้า และการร่วมขบวนการ
3.3 เพื่อให้ราษฎรตมแนวชายแดนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3.4 เพื่อให้ราษฎรตามแนวชายแดน มีความรักประเทศไทย มีความเป็นคนไทยมากขึ้นและให้ความร่วมมือกับส่วนราชการในทุกเรื่อง
4. การดำเนินงานการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน

ขั้นที่ 1 การเตรียมการและกำหนดหมู่บ้านเป้าหมาย

ขั้นที่ 2 การสำรวจข้อมูลหมู่บ้านและจัดทำแผน

ขั้นที่ 3 การดำเนินงานตามแผนงานการปฏิบัติของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน

กองทัพภาคที่ 3 ได้แต่งตั้ง ผู้บังคับการตำรวจตระเวรชายแดนภาค 3 เป็นรองประธานกรรมการตมคำสั่งที่ 231/2543

เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ชายแดนตามแนวทางพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อดำเนินงานโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ชายแดน เมื่อวันที่30 พฤษภาคม 2543 โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้


1. กำหนดวัตถุประสงค์ แนวทางปฏิบัติ และเป้าหมายการดำเนินงานโครงการเพื่อให้เป็นตามแนวทางพระราชทานฯ

2. จัดทำแผนแม่บทโครงการ แผนงานประจำปี และดำเนินงานโครงการให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนด

3. แต่งตั้งคณะทำงาน บุคคล หรือ เจ้าหน้าที่ เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานตามความจำเป็น

4. จัดตั้งกองอำนวยการโครงการ ควบคุมกำกับดูแลการปฏิบัติงานของโครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

5. ปฏิบัติงานและหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการพัฒนาเพื่อความมั่งคงในระดับพื้นที่ในเขตกองทัพภาคที่ 3

โครงการธนาคารข้าว

โครงการธนาคารข้าว

ความเป็นมา

เนื่องด้วยลักษณะภุมิประเทศบริเวณพื้นที่ชายแดนภาคเหนือของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันและเป็นท้องถิ่นทุรกันดารราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรซึ่งมีพื้นที่ดำเนินการจำกัด ประกอบกับบ่อยครั้งที่ต้องประสบภัยทางธรรมชาติ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหายอยู่เสมอ อันเป็นผลให้ราษฎร ต้องขาดแคลนข้าวเพื่อบริโภคในบางปีเหตการณ์เหล่านี้พระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัวฯได้ทรงรับทราบและทรงมีความห่วงใยพสกนิกร ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติเป็นอย่างยิ่งพระองค์ทรงมีพระราชดำริในชั้นต้น เพื่อหาแนวทางที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรเหล่านั้น จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้รีบดำเนินการช่วยเหลือโดย การจัดตั้งโครงการธนาคารข้าวขึ้นในหมู่บ้านที่ประสบภัยดังกล่าวขึ้น




วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง


1. เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
2. เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรที่ประสบทุพภิกขภัยในถิ่นทุรกันดาร
3. เพื่อให้ราษฎรผู้ประสบภัยมีข้าวพอเพียงต่อการบริโภคตลอดปี
4. เพื่อป้องกันผู้ฉวยโอกาสที่จะเข้าแสวงหาผลประโยชน์อันไม่เป็นธรรมแก่ราษฎรผู้ประสบภัยซึ่งยากจนและขาดแคลนข้าวเพื่อบริโภค
5. เพื่อเป็นพื้นฐานให้ราษฎรได้เข้าใจหลักการเบื้องต้นของระบบสหกรณ์ซึ่งจะได้ดำเนินการที่สมควรต่อไป
6. เพื่อสร้างเสริมอุปนิสัยของราษฎรผู้ประสบภัยให้รู้จักอยู่ร่วมกันในระบอบประชาธิปไตย โดยการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและผู้อื่น อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ราษฎรมีความขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพ
7. เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างราษฎรกับเจ้าหน้าที่
8. เพื่อเป็นการช่วยเหลือราษฎรให้รู้จักประหยัดทรัพย์


หลักการตั้งโครงการธนาคารข้าว


จัดตั้งในหมู่บ้านที่มีประชาชนร้องขอหรือทราบว่าราษฎรขาดแคลนเพื่อบริโภคและไม่สามารถดำเนินการจัดหาข้าว เพื่อบริโภคในหมู่บ้านได้เพียงพอ ไม่จัดตั้งซ้ำซ้อนหรือใกล้เคียงกับหมู่บ้านที่มีการจัดตั้งโครงการธนาคารข้าวของหน่วยงานอื่นที่ได้ดำเนินการอยู่ พิจารณาพื้นที่ที่จัดตั้งโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับต่อหมู่บ้านบริวาร ดำเนินการจัดตั้งในหมู่บ้านที่มีความปลอดภัยในการควบคุมและติดตามผล ไม่เป็นหมู่บ้านที่มีแนวโน้มที่จะมีการโยกย้าย ปัจจุบันกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33มีธนาคารข้าวในความรับผิดชอบ จำนวน 20 แห่ง


โดยเริ่มจัดตั้งครั้งแรกในวันที่ 3 กันยายน 2514 ณ บ้านห้วยหลวง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ การดำเนินการได้ติดตามผลการปฏิบัติทุกรอบเดือน ราษฎรได้กู้ยืมข้าว โดยมีคณะกรรมการในหมู่บ้านเป็นผู้ดำเนินการการดำเนินการที่ผ่านมาประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

http://www.bpp.go.th/project/project_1.html