น.ส.กันยารัตน์ พุทธคุณเมตตา รหัส 527190514 ศูนย์ราชโบริกาฯ หมู่ 1

So cool.....

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการถนนคร่อมคลองประปา


โครงการถนนคร่อมคลองประปา




เป็นโครงการอเนกประสงค์อันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อให้ศึกษาสภาพคลองประปาในอนาคต เพราะหากชุมชนมีความหนาแน่น น้ำในคลองประปาคงสกปรก หรือขนาดของคลองอาจเล็กเกินไป สมควรศึกษาว่าตามแนวใต้คลองประปาจะสร้างเป็นท่อลำเลียงน้ำขนาดใหญ่ได้หรือไม่ หรืออาจย้ายโรงกรองน้ำสามเสนไปไว้ที่โรงสูบน้ำสำแล เพื่อผลิดน้ำประปาส่งเข้าระบบท่อลอดใต้คลองประปา ส่วนตามแนวคลองประปาหากทำเป็นถนนหรือระบบขนส่งมวลชน ๑-๒ ชั้น ผ่านตัวเมืองชั้นในออกไปสู่ชานเมืองได้ก็จะเป็นประโยชน์มาก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ กระทรวงคมนาคม มีนโยบายให้ขยายถนนเลียบคลองประปา ช่วงหน้าโรงกรองน้ำบางเขน-ถนนเลียบคลองรังสิต เป็น ๔ ช่องจราจร เพื่อเชื่อมต่อกับถนนประชาชื่น

ใน พ.ศ. ๒๕๓๘ ในการประชุมโครงการแก้ไขปัญหาจราจรตามแนวพระราชดำริ มีมติระงับโครงการถนนเลียบคลองประปาไว้ก่อน และให้กรมทางหลวงทำการศึกษา เรื่องรูปแบบโครงการถนนคร่อมคลองประปา จากนั้นในเดือนมีนาคม ๒๕๓๙ การประปานครหลวงได้สรุปความเป็นไปได้และผลกระทบของการปิดคลองประปาว่า สามารถทำได้ถ้าจำเป็น แต่จะทำให้คุณภาพของน้ำดิบด้อยลงกว่าปัจจุบันและมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตน้ำประปาสูงขึ้น ซึ่งในระหว่างการออกแบบนั้น ได้ขอให้กรมทางหลวงประสานงานกับการประปานครหลวง


ต่อมาเมื่อ ๑๖ เมษายน ๒๕๓๙ ในพระราชพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมว่า ถนนคร่อมคลองประปาควรเป็นลักษณะโครงสร้างคร่อมคลองประปา โดยทั้งหมดเป็นผิวจราจร ไม่จำเป็นต้องมีช่องแสง เพราะน้ำไหล จึงไม่เน่า มีหน้าต่างด้านข้างเปิดปิดได้ ภายในมีช่องทางให้เดินเข้าไปดูแลรักษาคลองประปาอาจทำเป็นลักษณะถนนคร่อมคลอง ๒ ชั้น ช่วงจากโรงกรองน้ำสามเสนถึงบางซื่อมีทางด่วนอยู่ข้าง ๆ ต้องปิดให้คลองประปาเป็นอุโมงค์ส่งน้ำเหมือนทุกเมืองในโลก และไม่ควรมีการเวนคืนที่ดินในเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๐ กรมทางหลวงได้ดำเนินการออกแบบโครงสร้างคร่อมปิดคลองประปา ที่มีความกว้างของคลอง ๓๔ เมตร โดยมีสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ( AIT) เป็นที่ปรึกษา เดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระกระแสรับสั่งว่า เศรษฐกิจของประเทศอยู่ระหว่างชะลอตัว เห็นควรให้ระงับโครงการไว้ก่อน กระทรวงคมนาคมจึงสั่งให้ชะลอโครงการนี้โดยให้กรมทางหลวงดำเนินการศึกษาโครงการต่อไป เพื่อจะได้ทราบถึงปัญหาที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อนำกราบบังคมทูล

ต่อมา ในเดือนกันยายน ๒๕๔๒ กรมทางหลวงได้จัดจ้างสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ( AIT) เพื่อศึกษาข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งประกอบด้วย - รูปแบบโครงการที่เป็นไปได้ทางวิศวกรรมเบื้องต้น ได้แก่ ด้านจราจร งานทาง ชลศาสตร์ คุณภาพน้ำ โครงสร้าง และการก่อสร้าง - งบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างสรุปและเสนอแนะในการดำเนินโครงการต่อไป จากนั้น กรมทางหลวงได้ประสานงานกับการประปานครหลวง เพื่อให้โครงการถนนคร่อมคลองประปาเป็นไปตามแนวพระราชดำริ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสในการเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรความก้าวหน้า การก่อสร้างสะพานพระราม ๘ ความว่า

"... บึงมักกะสันน้ำเน่า เพราะไม่ถูกแสงแดด แต่คลองประปาใช้หลักการเดียวกันไม่ได้ เพราะน้ำดีไหล ไม่มีวันเน่า ปัจจุบันเปิดไว้ ความสกปรกเข้าได้เต็มที่ ต้องปิด ทำเป็นอุโมงค์ส่งน้ำเข้ามา... "... เดิมทีที่เลิกโครงการ เพราะเกิดปัญหาเศรษฐกิจ ไม่มีเงิน ปัจจุบันอยากให้ทำ ประเทศอื่น แหล่งน้ำเอาไว้นอกเมืองแล้วส่งเป็นอุโมงค์เข้ามา ที่ประเทศเราตรงข้าม ให้ฝุ่นตะกั่วลงไป... "... ถ้ามีปัญหาเรื่องคุณภาพน้ำ ให้ทำน้ำสะอาดก่อนเข้า ต่อไปน้ำจะมาจากเขื่อนป่าสัก คุณภาพน้ำจะดีขึ้น ถ้าเอาน้ำสะอาดเข้ามา ระบบปิดจะไม่เพิ่มความสกปรก กรมทางฯ กับการประปา ลองไปศึกษาให้ดีถ้าระบบเปิดจะเพิ่มความสกปรก ทำถนน ๒ ข้างแล้วตรงกลางเป็นคลองประปา ความสกปรกยิ่งเข้ามากขึ้น..."


จากการศึกษาและประสานงานกับการประปานครหลวง พอสรุปรูปแบบโครงการเบื้องต้นเป็น ๔ ช่วง คือ

๑. ช่วงโรงกรองน้ำสามเสน-โรงสูบน้ำบางซื่อ ระยะทาง ๑๓.๑ กิโลเมตร เป็นรูปแบบท่อส่งน้ำดิบด้วยแรงดัน ขนาด ๒ เมตร ๒ ท่อ และใช้พื้นที่คลองประปาเดิมเป็นช่องจราจรขาเข้าเมือง

๒. ช่วงโรงสูบน้ำบางซื่อ-โรงกรองน้ำบางเขน ระยะทาง ๘.๖ กิโลเมตร เป็นรูปแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.) ปิดคร่อมคลองประปาซึ่งลดขนาดคลองเหลือ ๑๒ เมตร โดยใช้พื้นที่ด้านบนเป็นช่องทางรถมวลชน และใช้พื้นที่คลองประปาที่เหลือเป็นช่องจราจรขาเข้าเมือง

๓. ช่วงโรงกรองน้ำบางเขน-คลองบางหลวง ระยะทาง ๑๒ กิโลเมตร เป็นรูปแบบโครงสร้าง คสล. ยกระดับปิดคลองประปา กว้าง ๓๐ เมตร โดยใช้พื้นที่ด้านบนเป็นผิวจราจรขาเข้าและออก

๔. ช่วงคลองบางหลวง-ทางหลวงหมายเลข ๓๔๗ ระยะทาง ๕ กิโลเมตร เป็นรูปแบบถนน ๒ ข้าง ขนานกับคลองประปา


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ คือ

๑. ประโยชน์ด้านการประปา - ได้โรงสูบน้ำบางซื่อใหม่ และเปลี่ยนระบบส่งน้ำช่วงสามเสน-บางซื่อเป็นท่อแรงดัน - ได้คลองประปาแบบปิด ที่กันความสกปรกเข้าและสามารถเข้าไปดูแลรักษาได้ช่วงบางซื่อ-บางเขน - ได้ปิดคลองและขยายความจุคลองประปาช่วงบางเขน-คลองบางหลวง - ได้คันกั้นน้ำท่วม ไม่ให้น้ำเสียไหลลงคลองประปาช่วงคลองบางหลวง-สำแล

๒. ประโยชน์ด้านจราจร - ทำให้โครงข่ายของโครงการจตุรทิศสมบูรณ์ยิ่งขึ้น - เสริมและประสานโครงข่ายถนนในพื้นที่ - ช่วยแบ่งเบาภาระการจราจรบนเส้นทางตามแนวโครงการ - ได้ทางรถมวลชนเพื่อเสริมโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน

http://www.doh.go.th/dohweb/kingproject/kpj6.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น